วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สงครามโลกครั้งที่สอง


ประตูชัยฝรั่งเศษ ส่วนหนึ่งในสงครามเยอรมัน-ฝรั่งเศษ
Infobox collage for WWII.PNG
สงครามโลกครั้งที่สอง  เป็นความขัดแย้งทางทหารระดับโลกตั้งแต่ ค.ศ. 1939 ถึง 1945 ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเทศส่วนใหญ่ในโลก รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด ประเทศผู้ร่วมสงครามรวมตัวกันเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ ระหว่างสงครามมีการระดมทหารกว่า 100 ล้านนาย ด้วยลักษณะของ "สงครามเบ็ดเสร็จ" ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักได้ทุ่มเทขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์เพื่อความพยายามของสงครามทั้งหมด โดยลบเส้นขีดแบ่งระหว่งทรัพยากรของพลเรือนหรือทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และนองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 40 ถึงมากกว่า 70 ล้านคน

Bundesarchiv Bild 183-W0506-316, Russland, Kampf um Stalingrad, Siegesflagge.jpg

ยุทธการสตาลินกราด
 เป็นยุทธการใหญ่ของสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งนาซีเยอรมนีและพันธมิตรฝ่ายหนึ่ง สู้รบกับสหภาพโซเวียตอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อแย่งชิงการควบคุมนครสตาลินกราด (ปัจจุบันคือ โวลโกกราด ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหพันธรัฐรัสเซีย) ยุทธการดำเนินไประหว่างวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1942 ถึง 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943ยุทธการสตาลินกราดเป็นยุทธการใหญ่ที่สุดบนแนวรบด้านตะวันออก และได้รับความสนใจเพราะความป่าเถื่อนและไม่สนใจต่อความสูญเสียทั้งทางทหารและพลเรือน นอกจากนี้ ยังเป็นหนึ่งในยุทธการนองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์การสงคราม โดยมีการประเมินความสูญเสียทั้งสองฝ่ายรวมกันขั้นสูงไว้เกือบสองล้านนาย ความสูญเสียอย่างหนักที่กองทัพเยอรมนีประสบนับเป็นจุดพลิกผันของสงครามหลังยุทธการสตาลินกราด กำลังเยอรมันไม่อาจฟื้นคืนยอดอย่างเมื่อก่อนได้อีก และไม่บรรลุชัยชนะทางยุทธศาสตร์ในทางตะวันออกอีกเลย

การโจมตีของญี่ปุ่น
อ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ รัฐฮาวาย
การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ เป็นการโจมตีฉับพลันของจักรวรรดิญี่ปุ่นต่อฝ่ายกองทัพอเมริกา โดยการโจมตีเกิดขึ้นที่ อ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ รัฐฮาวาย ในสหรัฐอเมริกา วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) ในการโจมตีนี้สร้างความเสียหายแก่ฝ่ายกองทัพสหรัฐอเมริกามาก โดยเรือรบสูญเสีย 12 ลำรวมทั้งเรือรบประจัญบาน ยูเอสเอสอริโซน่าเป็นเรือรบอันแสนภาคภูมิใจของอเมริกา เครื่องบิน 188 ลำ ทหารอเมริกันเสียชีวิต 2,403 คน และ ประชาชน 68 คน สืบเนื่องจากญี่ปุ่นได้โจมตีจีน แต่จีนขอให้สหรัฐช่วย สหรัฐจึงไม่ยอมส่งเหล็กหรือน้ำมันซึ่งเป็นกำลังหลักในการรบมาให้ ญี่ปุ่นโกรธจึงได้ก่อเหตุการ์ณนี้ขึ้น


ยุทธการเคิสก์
ยุทธการเคิสก์ เกิดขึ้นเมื่อกำลังเยอรมนีและโซเวียตเผชิญหน้ากันในแนวรบด้านตะวันออกระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง บริเวณย่านชานนครเคิสก์ห่างจากกรุงมอสโกไปทางใต้ 450 กิโลเมตร ในสหภาพโซเวียต ช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม ค.ศ. 1943 ยุทธการเคิสก์เป็นทั้งชุดของการสงครามยานเกราะที่ใหญ่ที่สุด รวมถึงยุทธการโปรโฮรอฟกา และการสงครามทางอากาศวันเดียวราคาแพงที่สุดในประวัติศาสตร์ ยุทธการนี้นับเป็นการรุกทางยุทธศาสตร์ครั้งสุดท้ายของเยอรมนีที่สามารถดำเนินการได้ในทางตะวันออก ชัยชนะเด็ดขาดของโซเวียตที่เป็นผลให้กองทัพแดงมีการริเริ่มทางยุทธศาสตร์ในช่วงที่เหลือของสงคราม
ฝ่ายเยอรมนีหวังจะย่นแนวรบของตนโดยกำจัดส่วนที่ยื่นออกมาที่เคิสก์ ซึ่งเป็นผลมาจากความพ่ายแพ้ในยุทธการสตาลินกราด คีมตามที่คิดไว้ล่วงหน้าเจาะผ่านปีกด้านเหนือและใต้เพื่อบรรลุการล้อมกำลังกองทัพแดงใหญ่ อย่างไรก็ดี ฝ่ายโซเวียตมีข่าวกรองเจตนาของกองทัพเยอรมัน ด้วยเหตุนี้ ประกอบกับความล่าช้าของเยอรมนีที่ต้องรออาวุธใหม่ ส่วนใหญ่คือ รถถังไทเกอร์และแพนเธอร์ ทำให้กองทัพแดงมีเวลาสร้างแนวป้องกันเป็นชุดและเก็บกำลังหนุนขนาดใหญ่เพื่อการตีโต้ตอบทางยุทธศาสตร์

Winter war.jpg
ทหารประจำรังปืนกลของฟินแลนด์ระหว่างสงครามฤดูหนาว
สงครามฤดูหนาว  และอาจรู้จักกันในชื่อ สงครามโซเวียต-ฟินแลนด์ หรือ สงครามรัสเซีย-ฟินแลนด์) เป็นสงครามระหว่างสหภาพโซเวียตกับประเทศฟินแลนด์ เกิดในช่วงต้น ๆ ของสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อฟินแลนด์ปฏิเสธไม่ยอมยกดินแดนบางส่วนและไม่ยอมให้โซเวียตสร้างฐานทัพเรือในดินแดนของตน
การโจมตีเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) เมื่อทหารในกองทัพแดงราวหนึ่งล้านคนบุกเข้าจู่โจมตามแนวรบหลายจุดบริเวณพรมแดนระหว่างสหภาพโซเวียตกับฟินแลนด์ กองทัพฟินแลนด์บัญชาการโดยจอมพลมานเนอร์ไฮม์ สามารถต่อต้านการโจมตีได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ว่าจะมีกำลังพลน้อยกว่ามาก อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ทหารรัสเซียเข้าไปในฟินแลนด์ได้สำเร็จ หลังใช้ปืนใหญ่ระดมโจมตีแนวป้องกันตามคอคอดคาเรเลียซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของฟินแลนด์รวมทั้งการโจมตีทางอากาศ สงครามสิ้นสุดลงในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) เมื่อมีการลงนามในสัญญาสันติภาพมอสโก โดยฟินแลนด์ยอมยกดินแดนบางส่วนให้โซเวียตและยอมให้โซเวียตก่อสร้างฐานทัพเรือบนคาบสมุทรฮังโก การรุกรานฟินแลนด์ในครั้งนี้ทำให้สหภาพโซเวียตถูกขับออกจากสันนิบาตชาติ

Iwane Matsui rides into Nanjing.jpg
ยุทธการนานกิง

ยุทธการนานกิง เริ่มหลังจากยุทธการเซี่ยงไฮ้เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1937 และสิ้นสุดลงในเดือนธันวาคม 1937 ถึงกองกำลังญี่ปุ่นไม่กี่วันหลังจากที่รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ย้ายเมืองหลวงไปยังอู่ฮั่น การสังหารหมู่ที่นานกิงเกิดขึ้นหลังจากญี่ปุ่นยึดเมืองดังกล่าวได้สำเร็จ

The El Campesino directing Republican soldiers at Villanueva de la Canada.jpg
สงครามกลางเมืองสเปน
สงครามกลางเมืองสเปน (อังกฤษSpanish Civil War) เป็นการรบในประเทศสเปนที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายต่อต้านสาธารณรัฐสเปนที่ 2 ได้แก่ "ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐ" ประกอบด้วยกลุ่มมัชฌิมา กลุ่มสังคมนิยม กลุ่มคอมมิวนิสต์ รวมทั้งชาวคาตาลันและชาวบาสก์ที่หัวรักถิ่นและเป็นอนาธิปไตย กับ "ฝ่ายชาตินิยม" ที่เป็นฝ่ายก่อการกบฏ รวมถึงพวกนิยมกษัตริย์ พวกการ์ลิสต์ พวกคาทอลิกหัวเก่า และพวกฟาสซิสต์ฟรังกิสต์ ซึ่งกองทัพสเปนเองก็ได้แตกแยกออกเป็นสองฝ่าย แต่ละฝ่ายก็พยายามระดมหาพันธมิตรต่างประเทศมาช่วยรบ ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐดึงสหภาพโซเวียตและเม็กซิโก ส่วนฝ่ายชาตินิยมดึงพวกฟาสซิสต์จากอิตาลีและนาซีเยอรมนี
สงครามดังกล่าวนับว่าเป็นการเร่งความขัดแย้งที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สอง และถูกมองว่าเป็นสงครามตัวแทนระหว่างสองลัทธิ คือ คอมมิวนิสต์ สหภาพโซเวียตและฟาสซิสต์ ฝ่ายอักษะ สงครามดังกล่าวได้มีการนำรถถังและการทิ้งระเบิดทางอากาศมาใช้ และถูกกล่าวขานถูกความโหดร้ายของสงครามและความแตกแยกทางการเมืองจากนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่หลายคน อย่างเช่น เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์มาร์ธา เกลฮอร์นจอร์จ ออร์เวลล์, และโรเบิร์ต คาปา

Lange-MigrantMother02.jpg
ภาพผู้คนที่ประสบภาวะเศรษฐกิจ
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ เป็นเหตุการณ์เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ที่เกิดในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ในปี ค.ศ. 1929 หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และขยายวงไปยังนานาประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยที่ได้ประสบผลกระทบไปด้วย จนเกิดการปฏิวัติในปี ค.ศ. 1932ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปซึ่งประสบความเสียหายจากภัยพิบัติของสงครามบูรณะฟื้นฟูประเทศ และระบอบเศรษฐกิจให้กลับเข้าสู่ปกติได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการผลิตของเศรษฐกิจภาคต่าง ๆ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมและการบริการ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นซึ่งไม่ได้รับความเสียหายจากสงครามมากนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ก็มีส่วนช่วยให้ประเทศยุโรปฟื้นตัวได้เร็ว เพราะจัดส่งสินค้าและสิ่งจำเป็นในการฟื้นฟูระบบการผลิตและอุตสาหกรรม รวมทั้งให้สินเชื่อและเงินช่วยเหลือจำนวนมากแก่ประเทศต่าง ๆ

จักรวรรดิอิตาลี

จักรวรรดิอิตาลี (อังกฤษItalian Empire) ก่อตั้งขึ้นโดยราชอาณาจักรอิตาลี (อิตาลีสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นจากการรวมชาติอิตาลี (Italian unification) ที่เพิ่งเริ่มก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1861) โดยอิตาลีได้ร่วมมือกับมหาอำนาจอื่นๆ ในยุโรปใน “การล่าอาณานิคมในแอฟริกา” ในช่วงนี้จักรวรรดิโปรตุเกสสเปนเนเธอร์แลนด์อังกฤษ และ ฝรั่งเศส ต่างก็เป็นเจ้าของอาณานิคมกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้ว ดินแดนสุดท้ายที่ยังคงเหลือสำหรับยึดเป็นอาณานิคมคือทวีปแอฟริกาเท่านั้น
เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1914 อิตาลีก็ผนวกเอริเทรีย และ โซมาเลีย และพยายามควบคุมบางส่วนของจักรวรรดิออตโตมัน รวมทั้งลิเบีย แต่ต้องพ่ายแพ้เมื่อพยายามยึดเอธิโอเปีย รัฐบาลฟาสซิสต์ภายใต้การนำของผู้เผด็จการเบนิโต มุสโสลินีพยายามขยายเขตแดนของจักรวรรดิเพิ่มขึ้น ทั้งโดยการใช้กำลังและโดยการขู่ว่าจะใช้กำลัง และในที่สุดก็ยึดเอธิโอเปียได้เมื่อสี่สิบปีให้หลังจากการพยายามครั้งแรก
ตราสารยอมจำนนของเยอรมนี
ตราสารยอมจำนนของเยอรมนี เป็นตราสารจัดให้มีการหยุดยิงเป็นอันสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ตราสารดังกล่าวลงนามโดยผู้แทนจากโอเบอร์คอมมันโด แดร์ เวร์มัคท์ (OKW) และกำลังรบนอกประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 และโดยหัวหน้าของโอเบอร์คอมมันโด แดร์ เวร์มัคท์ และผู้แทนจากกองบัญชาการทหารสูงสุดอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม วันดังกล่าวในชาติตะวันตกเรียกว่า วันแห่งชัยชนะในทวีปยุโรป ขณะที่ในรัฐหลังโซเวียต วันแห่งชัยชนะได้มีการเฉลิมฉลองขึ้นในวันที่ 9 พฤษภาคม ส่วนในเยอรมนี วันดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันว่า วันแห่งการยอมจำนน

กลุ่มเมฆรูปดอกเห็ดของ "เด็กน้อย" หรือ "ลิตเติลบอย" ที่ทิ้งใส่เมืองฮิโระชิมะ
ลิตเติ้ลบอย
กลุ่มเมฆรูปดอกเห็ดของ "เด็กน้อย" หรือ "ลิตเติลบอย" ที่ทิ้งใส่เมืองฮิโระชิมะ
แฟทแมน
การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโระชิมะและนะงะซะกิ เป็นการโจมตีจักรวรรดิญี่ปุ่นด้วยอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปลายสงครามโลกครั้งที่สอง โดยคำสั่งของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แฮร์รี เอส. ทรูแมนเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม และวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 หลังจากการโจมตีทิ้งระเบิดเพลิงตามเมืองต่างๆ 67 เมืองของญี่ปุ่นอย่างหนักหน่วงเป็นเวลาติดต่อกันถึง 6 เดือน สหรัฐอเมริกาจึงได้ทิ้ง "ระเบิดปรมาณู" หรือที่เรียกในปัจจุบันว่าระเบิดนิวเคลียร์ที่มีชื่อเล่นเรียกว่า "เด็กน้อย" หรือ "ลิตเติลบอย" ใส่เมืองฮิโระชิมะในวันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ตามด้วย "ชายอ้วน" หรือ "แฟตแมน" ลูกที่สองใส่เมืองนะงะซะกิโดยให้จุดระเบิดที่ระดับสูงเหนือเมืองเล็กน้อย นับเป็นระเบิดนิวเคลียร์เพียง 2 ลูกเท่านั้นที่นำมาใช้ในประวัติศาสตร์การทำสงคราม
การระเบิดทำให้มีผู้เสียชีวิตที่ฮิโระชิมะ 140,000 คนและที่นะงะซะกิ 80,000 คนโดยนับถึงปลายปี พ.ศ. 2488 จำนวนคนที่เสียชีวิตทันทีในวันที่ระเบิดลงมีจำนวนประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนที่กล่าวนี้ และในระยะต่อมาก็ยังมีผู้เสียชีวิตด้วยการบาดเจ็บหรือจากการรับกัมมันตภาพรังสีที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากการระเบิดอีกนับหมื่นคน ผู้เสียชีวิตเกือบทั้งหมดในทั้ง 2 เมืองเป็นพลเรือน
หลังการทิ้งระเบิดลูกที่สองเป็นเวลา 6 วัน ญี่ปุ่นประกาศตกลงยอมแพ้สงครามต่อฝ่ายพันธมิตรเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2488 และลงนามในตราสารประกาศยอมแพ้สงครามมหาสมุทรแปซิฟิกที่นับเป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2488 (นาซีเยอรมนีลงนามตราสารประกาศยอมแพ้และยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรปอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2488) การทิ้งระเบิดทั้งสองลูกดังกล่าวมีส่วนทำให้ประเทศญี่ปุ่นต้องยอมรับหลักการ 3 ข้อว่าด้วยการห้ามมีอาวุธนิวเคลียร์











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น